วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหวภาพ : คม ชัด ลึก/ภาพประกอบ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของข่าว


นักแผ่นดินไหววิทยา เผยผลการศึกษาว่าโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดขึ้นกับมณฑลเสฉวนของจีน เมื่อปีก่อน เป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 1 ใน 4,000 ปีเท่านั้น
คณะนักวิจัยของสำนักงานแผ่นดินไหวจีน เผยในวารสารเนเจอร์จีโอไซเอินซ์ว่า แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 เกิดจากปัจจัย 3 ประการ คือ คลื่นแผ่นดินไหวใหญ่ ลักษณะทางธรณีวิทยาที่ไม่ปกติ และหินที่เป็นกำแพงใต้ดิน 3 จุด ไม่สามารถต้านแรงแผ่นดินไหวได้ การประจวบเหมาะเช่นนี้เกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง ในรอบ 4,000 ปี
พวกเขาใช้ระบบหาพิกัดบนพื้นโลก(จีพีเอส) และข้อมูลจากดาวเทียมสร้างภาพรอยเลื่อนหลงเหมินซาน บนขอบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอ่งเสฉวน ที่กลายเป็นหลุมกว้างเพราะแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ พบว่า ลักษณะทางธรณีวิทยาใต้ดินตลอดแนวรอยเลื่อนมีความหลากหลาย พื้นราบฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของรอยเลื่อนจมลงเล็กน้อยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วสูงขึ้นเกือบตั้งฉากในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกัน รอยเลื่อนมีการสะสมแรงมาหลายปี อันเกิดจากการเคลื่อนในแนวตั้งคือ หินชั้นล่างถูกดันขึ้น ส่วนหินชั้นบนถูกกดลง และการเคลื่อนด้านข้างซ้ายขวา แรงสะสมระเบิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ส่งคลื่นพลังงานมหาศาลไปตลอดแนวรอยเลื่อน เป็นเหตุให้หินขนาดใหญ่ใต้ดิน 3 จุด แตกละเอียดพร้อมกัน รอยเลื่อนปริแตกกลายเป็นโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 88,000 คน
นักวิจัยระบุว่า จนถึงขณะนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังคงเกิดแรงสั่นสะเทือนหลังแผ่นดินไหว หรืออาฟเตอร์ช็อกตามมา แต่มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นอีกในอนาคตอัน ใกล้.-สำนักข่าวไทยใหญ่เสฉวนของจีน เกิดขึ้นเพียง 1 ใน 4,000 ปี

3 ความคิดเห็น: