วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหวภาพ : คม ชัด ลึก/ภาพประกอบ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของข่าว


นักแผ่นดินไหววิทยา เผยผลการศึกษาว่าโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดขึ้นกับมณฑลเสฉวนของจีน เมื่อปีก่อน เป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 1 ใน 4,000 ปีเท่านั้น
คณะนักวิจัยของสำนักงานแผ่นดินไหวจีน เผยในวารสารเนเจอร์จีโอไซเอินซ์ว่า แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 เกิดจากปัจจัย 3 ประการ คือ คลื่นแผ่นดินไหวใหญ่ ลักษณะทางธรณีวิทยาที่ไม่ปกติ และหินที่เป็นกำแพงใต้ดิน 3 จุด ไม่สามารถต้านแรงแผ่นดินไหวได้ การประจวบเหมาะเช่นนี้เกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง ในรอบ 4,000 ปี
พวกเขาใช้ระบบหาพิกัดบนพื้นโลก(จีพีเอส) และข้อมูลจากดาวเทียมสร้างภาพรอยเลื่อนหลงเหมินซาน บนขอบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอ่งเสฉวน ที่กลายเป็นหลุมกว้างเพราะแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ พบว่า ลักษณะทางธรณีวิทยาใต้ดินตลอดแนวรอยเลื่อนมีความหลากหลาย พื้นราบฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของรอยเลื่อนจมลงเล็กน้อยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วสูงขึ้นเกือบตั้งฉากในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกัน รอยเลื่อนมีการสะสมแรงมาหลายปี อันเกิดจากการเคลื่อนในแนวตั้งคือ หินชั้นล่างถูกดันขึ้น ส่วนหินชั้นบนถูกกดลง และการเคลื่อนด้านข้างซ้ายขวา แรงสะสมระเบิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ส่งคลื่นพลังงานมหาศาลไปตลอดแนวรอยเลื่อน เป็นเหตุให้หินขนาดใหญ่ใต้ดิน 3 จุด แตกละเอียดพร้อมกัน รอยเลื่อนปริแตกกลายเป็นโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 88,000 คน
นักวิจัยระบุว่า จนถึงขณะนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังคงเกิดแรงสั่นสะเทือนหลังแผ่นดินไหว หรืออาฟเตอร์ช็อกตามมา แต่มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นอีกในอนาคตอัน ใกล้.-สำนักข่าวไทยใหญ่เสฉวนของจีน เกิดขึ้นเพียง 1 ใน 4,000 ปี

14 มกราคม 2553 - 00:00
ช่วงเวลาประมาณตี 5 (04.53 น.) ของบ้านเราวานนี้...อันตรงกับประมาณ 4 ทุ่ม (21.53 น.) ตามเวลาของ ประเทศเฮติ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะเล็กๆ ที่เรียกกันว่าฮิสปันนิโอลา ในแถบทะเลแคริบเบียน หรืออยู่คนละซีกโลกกับบ้านเราก็ว่าได้ แม่พระธรณีท่านได้แสดงอาการพิโรธ ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวความแรงประมาณ 7.3 ริกเตอร์ สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่วทั้งประเทศเฮติ อันเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าสุดแสนจะน่าอเนจอนาถ น่าเวทนามาโดยตลอด...

แม้นว่าผลสรุปความเสียหายยังไม่ได้ปรากฏออกมาเป็นตัวเลขชัดๆ แต่ถ้าหากมองถึงภาพตึกราม อาคาร บ้านเรือน ตลอดไปจนกระทั่งทำเนียบประธานาธิบดี ที่ต่างต้องพังพินาศกลายเป็นเศษอิฐ เศษปูน ไปในชั่วพริบตา ก็สามารถคาดคะเนได้ไม่ยากว่า อุบัติการณ์ทางธรรมชาติที่บังเกิดขึ้นกับประเทศนี้อีกครั้ง แบบซ้ำๆ ซากๆ ย่อมต้องนำมาซึ่งโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้า น่าสลดหดหู่ ยิ่งขึ้นไปอีก ประชากรจำนวนประมาณ 8.7 ล้านคน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 27,750 ตารางกิโลเมตรของประเทศแห่งนี้ เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องตกอยู่ในสภาพ...ทั้งโรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น มิแลเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา ยังไงยังงั้น...

เพราะก่อนหน้านั้น...นับเป็นเวลาไม่รู้กี่ทศวรรษต่อกี่ทศวรรษมาแล้ว ที่ประเทศเฮติจะต้องเผชิญกับความเกรี้ยวกราดของภัยพิบัติทางธรรมชาติมาโดยตลอด ย้อนหลังกลับไปเมื่อซัก 5-6 ปีที่แล้ว ครั้งที่ต้องเผชิญหน้ากับ พายุเจนนี่ ถล่มเข้าใส่ ก็เล่นเอาผู้คนกว่า 3,000 คน ต้องสูญหายล้มตายไป เพราะภาวะน้ำท่วมและโคลนถล่ม และอีก 3,000 คน ที่อยู่ติดชายแดนทางใต้กับประเทศโดมินิกัน ก็ตกอยู่ในสภาพไม่ต่างไปจากกัน มาถึงช่วงปี ค.ศ.2008 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้วนี่เอง โดยอุณหภูมิพื้นผิวของทะเลแคริบเบียนที่ร้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้เกิดพายุลูกแล้วลูกเล่าบุกทยอยเข้าถล่มประเทศเล็กๆ แห่งนี้อย่างเป็นระลอก ไม่ว่าจะเป็น พายุเฟย์ พายุเฮอริเคน กุสตาฟ ฮานนา ฯลฯ ส่งผลให้ประชากรประมาณ 800,000 คน หรือเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ ต้องยังชีวิตอยู่ด้วยความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากประเทศอื่นล้วนๆ...

บรรดาชาวเฮติที่เดิมทีก็ยากจนอยู่แล้ว...เพราะโดยจำนวนประชากรประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนั้น ว่ากันว่ามีรายได้ประมาณแค่วันละไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น เมื่อต้องมาเจอกับทุกข์ซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็นเช่นนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ปั่นป่วน รวนเร มีสภาพไม่ต่างไปจาก นรก เราดีๆ นี่เอง เกิดการ จลาจลอาหาร ภายในประเทศครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเฉพาะช่วงที่ภาวะ วิกฤตการณ์อาหาร กำลังแผ่ขยายไปทั่วโลกเมื่อปี 2 ปีที่แล้ว อาหารหลักตลอด 3 มื้อของชาวเฮติจำนวนไม่น้อย ก็คือ ดิน ล้วนๆ โดยเอามาผสมเกลือและผัก แล้วทำเป็นแผ่นบางๆ คล้ายๆ กับแผ่นโรตี หรือที่ชาวต่างชาติเรียกขานกันในนาม คุกกี้ดิน..
แน่นอนว่าภายใต้สภาพเช่นนี้...ย่อมทำให้ระบบการเมือง การปกครอง ในประเทศเฮติ ต้องปั่นป่วน รวนเร ตามไปด้วย อย่างต่อเนื่องยาวนานมาโดยตลอด แม้นจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สามารถปลดปล่อยตัวเองให้เป็นเอกราชได้เป็นประเทศแรก ในบรรดาประเทศแถบละตินอเมริกา หรือเป็นประเทศที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่จนตราบเท่าทุกวันนี้...การสลับเปลี่ยนหมุนเวียนระหว่างผู้นำเผด็จการที่โหดเหี้ยม กับผู้นำประชาธิปไตยที่สุดแสนจะคอรัปชั่น ก็ยังคงเป็นเสมือนหนึ่งประเพณีและวัฒนธรรมทางการเมืองของเฮติอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะนับตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1991 เป็นต้นมา หรือช่วงที่เกิดการรัฐประหารประธานาธิบดีผู้มาจากการเลือกตั้ง ที่ชื่อว่า ฌอง แบร์ทรองด์ อริสตีด แม้นจะมีความพยายามจากนานาชาติ เพื่อที่จะนำเอาผู้นำทางการเมืองรายนี้กลับคืนไปสู่อำนาจอีกครั้ง แต่ก็ด้วยความล้มเหลวของประชาธิปไตย และผู้นำประชาธิปไตยในเฮตินั่นเอง ที่ทำให้เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศนี้ ยังคงต้องอาศัยกองกำลังของสหประชาชาติเข้าไปตั้งมั่น ช่วยประคับประคอง ดูแลอยู่จนทุกวันนี้...-

แต่รากเหง้าความล้มเหลวของประชาธิปไตยในเฮตินั้น...ถ้าหากลองสืบค้นให้ลึกๆ ลงไป นอกเหนือไปจากความยากจน และความด้อยการศึกษาของประชากรภายในประเทศแล้ว ปรากฏการณ์สำคัญที่สุดอันเป็นเหตุปัจจัยนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ในเฮติทุกวันนี้ น่าจะหนีไม่พ้นไปจากความพังพินาศของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่มีมาตั้งแต่พื้นที่เกาะเล็กๆ แห่งนี้ยังตกเป็นอาณานิคมของชาวฝรั่งเศสนั่นแหละ จากสภาพอันเต็มไปด้วยความเขียวชอุ่มของป่าไม้ตามธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเอามากๆ เมื่อเจอกับความละโมบของระบบทุนนิยม ที่พวกฝรั่งนำมาบังคับใช้ต่ออาณานิคมของตัวเองในทุกๆ พื้นที่ พื้นที่ป่าต้นกำเนิดซึ่งเคยหลงเหลืออยู่ในประเทศเฮติถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี ค.ศ.1925 ปัจจุบัน...ว่ากันว่า เหลืออยู่เพียงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดด้วยซ้ำ.

ด้วยสภาพความแห้งแล้งแบบทะเลทราย รวมทั้งพื้นดินที่แทบไม่หลงเหลือความอุดมสมบูรณ์ใดๆ อีกต่อไป อันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมส่งออกไม้ และการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้นอกจากชาวเฮติส่วนใหญ่จะต้องกลายสภาพเป็นเกษตรกรที่ยากจนแสนเข็ญ ภัยพิบัติทางธรรมชาติประเภทน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ยังทยอยเข้าเล่นงานผู้คนในประเทศด้วยอัตราที่ถี่ขึ้น แรงขึ้น จนยากที่จะ รับประทานประชาธิปไตย ตามแบบฉบับตะวันตกได้อีกต่อไป การสลับเปลี่ยนหมุนเวียนระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ หรือประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย จึงกลายเป็นประเพณีและวัฒนธรรมทางการเมืองของเฮติมาโดยตลอด...

ยิ่งในช่วงหลังๆ...ที่ผู้คนถึงกับต้อง กินดิน เป็นอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ความพยายามที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตยในเฮติ ยิ่งแทบเป็นไปไม่ได้มากขึ้นเท่านั้น ดูเหมือนว่า...สิ่งที่ผู้คนตลอดไปจนกระทั่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในพื้นที่แห่งนี้น่าจะต้องการมากที่สุดก็คือ การฟื้นฟูธรรมชาติ ให้กลับคืนสู่ความเป็นปกติ อย่างที่เคยเป็นมาในอดีตซะมากกว่า เพราะเมื่อไหร่ที่สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในเฮติ หรือในพื้นที่อื่นๆ ทั่วทั้งโลก ได้รับการฟื้นฟู ดูแล ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่วิปริต ผิดเพี้ยน ไปตามวิถีทางอันละโมบ โลภมาก ของมนุษย์แล้วไซร้ ระบอบการปกครองใดๆ ไม่ว่าจะเรียกว่าประชาธิปไตย หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตาม ซึ่งเคยนำมาซึ่งความสุข ความสงบ ความมีสันติภาพ ให้กับผู้คนในอดีต มันก็จะค่อยๆ ฟื้นตัวของมันขึ้นมาเอง เป็นไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ไม่ต่างอะไรไปจากความหลากหลายทางชีวภาพนั่นแล...

ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้จาก นีอันเดอร์...ในยามวิบัติ...มนุษย์เราจะอยู่ได้ด้วยความหวัง...

เสื้อแดง

คุยกับเว็บมาสเตอร์
สวัสดีเพื่อนพ้องน้องพี่เสื้อแดงที่รักทุกท่าน ขอต้อนรับเข้าสู่้เว็บไซต์ชมรมกูรักแดง การสร้างชมรมของเรา เพื่อเเผยแพร่ข่าวสารในทุกด้านให้แก่พี่น้องเสื้อแดงทุกท่าน และเป็นศูนย์กลางธุรกิจให้แก่คนเสื้อแดง ทางชมรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าร่วมชมรมทุกท่านจะได้รับประโยขน์สูงสุด และมีความรักสามัคคีในชาวเสื้อแดงร่วมกัน ทางชมรมยินดีต้อนรับทุกกลุ่มทางชมรมกุรักแดงยังคงประสงค์ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อคนเสื้อแดงตลอดไป
เว็บมาสเตอร์ กูรักแดงดอทคอม ธีร์ ณ กูรักแดง ปิงปอง ณ เจียงฮาย
คุณชอบเสื้อแดงหรือไม่เพราะเหตุใด